สิทธิประโยชน์และการส่งเสริมการค้าการลงทุน
มติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 2/2557 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ออกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 4/2557 เรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2557 โดยมีสาระสำคัญของการใช้สิทธิประโยชน์ จำแนกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1) กรณีเป็นกิจการทั่วไปในประเภทกิจการที่อยู่ในข่ายให้การส่งเสริมและตั้งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
2) กรณีเป็นกิจกรรมเป้าหมายสำหรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกำหนด ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยจำกัดเวลาไม่เกิน 100 ละ 100 ของเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลฯ ร้อยละ 50 ของอัตราปรกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนพ.ได้กำหนดบทบาท ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เป็น “ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ/ เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น” โดยกำหนดโครงสร้างเศรษฐกิจ บริการ 51.47 % เกษตร 24.94 % อุตสาหกรรม 16.93 % มีผลผลิตในพื้นที่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ถั่วเขียวผิวมัน ถั่วเหลือง พืชผัก ประมงน้ำจืด อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย เกษตร และสิ่งทอ ในขณะที่ภาคบริการเป็นขายส่ง/ขายปลีก โดยมีอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ได้แก่
• อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
• อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง เช่น อุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด
• การผลิตอาหารสัตว์
• การผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
• อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือนจากไม้
• อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
• อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
• อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์
• นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรมบริการ
• กิจการด้านโลจิสติกส์ อาทิ คลังสินค้า ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า
การเชื่อมโยงภูมิภาค มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการที่เมียนมาร์นำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากฐานการผลิตส่วนกลางของประเทศไทย เศรษฐกิจระดับท้องถิ่นยังไม่มีรูปแบบเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ แต่มีโอกาสเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมืองเมียวดี ผะอย่างกุ้งได้